สมัครสมาชิก

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

การต่อทะเบียนรถ

งานทะเบียนรถ
          งานทะเบียนรถ  ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ได้แก่ การจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์รถ การเปลี่ยนแปลงรายการ ทางทะเบียน และอื่น

การจดทะเบียนรถใหม่
เอกสารประกอบ
  • หนังสือรับรองหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถ
  • หนังสือแจ้งจำหน่ายรถ
  • ใบเสร็จรับเงิน และสัญญาเช่าซื้อ (กรณีเช่าซื้อรถ)
  • หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
    กรณีจดทะเบียนในนามนิติบุคคล
  • พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
  • นำรถเข้ารับการตรวจสภา
  • รับเลขทะเบียน
  • ชำระภาษีและค่าธรรมเนียม  
  • รอรับใบคู่มือ เครื่องหมายการเสียภาษี แผ่นป้ายทะเบียนรถ
การเสียภาษีประจำปี
เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าคราวละ 1 ปี ถ้าเสียภาษีเกินเวลาที่กำหนดไว้จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 องจำนวนเงินภาษีที่ค้าง เจ้าของรถสามารถชำระได้ก่อนถึงวันครบรอบภาษีล่วงหน้า 3 เดือน หรือ 90 วัน การชำระภาษีประจำปีสามารถเสียภาษีได้ 4 ทาง คือ เสียภาษีที่สำนักงานขนส่งจังหวัด เสียภาษีผ่านไปรษณีย์ หรือเสียภาษีผ่านธนาคาร เสียภาษีที่ห้างสรรพสินค้า
เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
  • พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นสมุดคู่มือจดทะเบียนรถพร้อม พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ.
    ให้กับเจ้าหน้าที่ (ไม่ต้องเขียนคำขอต่อภาษี)
  • ชำระเก็บภาษี
  • รอรับใบคู่มือ เครื่องหมายเสียภาษี
การโอนกรรมสิทธิ์รถ 
ผู้โอนและผู้รับโอนต้องมาดำเนินการโอนภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีการซื้อขายรถ ถ้าไม่โอน ภายใน 15 วันต้องเสียค่าปรับขั้นต่ำ 200 บาท
เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้โอน และผู้รับโอน
    หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล
  • หนังสือมอบอำนาจกรณีผู้โอนและผู้รับโอนไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง ต้องแนบ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้โอน ผู้รับโอน และผู้รับมอบอำนาจด้วย
  • หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการครอบครองรถของผู้โอน เช่น สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาเช่าซื้อ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี กรณีเป็นนิติบุคคล
  • กรณีเป็นคนต่างชาติใช้ภาพถ่ายหนังสือเดินทาง visa และหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่หรือหนังสือรับรองการทำงาน
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอโอนรถ
  • นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ ยกเว้นการตรวจสอบกรณีโอนตามสัญญาเช่าซื้อ
  • ชำระค่าธรรมเนียม  200 บาท
  • รอรับใบคู่มือ
การแจ้งย้ายรถออก
สามารถแจ้งย้ายออกได้ทั้งจังหวัดต้นทางและจังหวัดปลายทาง กรณีย้ายปลายทาง ต้องมีอายุภาษ ีเหลืออย่างน้อย 30 วัน ใช้เวลาในการย้ายประมาณ 15 วัน

เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัตรประจำประชาชนของเจ้าของรถ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล
  • หนังสือรับมอบอำนาจ กรณีเจ้าของรถไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง ต้องแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจด้วย
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
  • ชำระค่าธรรมเนียม
  • รอรับเอกสารคืน พร้อมหนังสือแจ้งย้าย
การแจ้งย้ายรถเข้า
ต้องมาดำเนินการย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับจากวันที่แจ้งย้ายรถออกจากจังหวัดต้นทาง
ถ้าย้ายเข้าภายใน
 15 วัน ต้องเสียค่าปรับขั้นต่ำ 200 บาท

เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
  • หนังสือแจ้งย้ายส่วนที่ 3
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของรถ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
  • นำรถที่แจ้งย้ายเข้าไปรับการตรวจสอบหมายเลขคัสซี เลขเครื่องยนต์ จากช่างตรวจสภาพรถ
  • นำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถเดิมที่ย้ายออกมาไปคืน
  • รับเลขทะเบียนใหม่
  • ชำระค่าธรรมเนียม ค่าแผ่นป้ายใหม่ 200 บาท
  • รอรับเอกสารคืน และเครื่องหมายเสียภาษี
การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของรถ
    1.  ยื่นคำขอตามแบบขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ หาก จะให้ผู้อื่นไปทำการแทน ต้องทำใบมอบอำนาจตามกฎหมาย
    2.  นำรถไปตรวจสอบ
    3.
 เสียค่าธรรมเนียมคำขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญอย่างละ 20 บาท
    4.
 นำใบรับรองการตรวจสอบรถ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถพร้อมหลักฐานอื่น เช่น หนังสือ รับรองหลักฐานการตัดบัญชีเครื่องยนต์ ใบแจ้งจำหน่าย และใบเสร็จรับเงิน ยื่นขอแก้ไข หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
    5.
 เสียภาษีเพิ่ม ถ้าน้ำหนักรถเพิ่มขึ้นเกินจากอัตราภาษีเดิม
การเปลี่ยนประเภทรถ
    1. ยื่นคำขอตามแบบคำขออื่น ๆ หากจะให้ผู้อื่นไปทำการแทน ต้องทำใบมอบอำนาจตาม กฎหมาย
    2.
 แนบหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
    3.
 นำรถเข้าตรวจสภาพ
    4.
 นำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถที่จดทะเบียนไว้ประเภทเดิมไปคืน
    5.
 เสียค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ 200 บาท ค่าธรรมเนียมเปลี่ยนประเภท 20 าท
    6.
 เสียภาษีเพิ่ม กรณีประเภทใหม่มีอัตราภาษีสูงกว่าเดิม
การเปลี่ยนเครื่องยนต์
เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
·         หลักฐานการได้มาของเครื่องยนต์ใหม่
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของรถ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล
  • หนังสือรับมอบอำนาจ กรณีเจ้าของรถไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง ต้องแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจด้วย
ขั้นตอนดำเนินการ
·         ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
·         นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ
·         ชำระค่าธรรมเนียม
·         รอรับเอกสารคืน
      การเปลี่ยนสีรถ
ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 7 ัน นับจากวันที่ที่ระบุในใบเสร็จค่าทำสีรถ ถ้าแจ้งช้ากว่า 7 วัน ต้องเสียค่าปรับขั้นต่ำ 200 บาท
เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
  • หลักฐานการเปลี่ยนสีรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าทำสี หรือหนังสือยืนยันว่าได้ทำสีเอง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของรถ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ
  • นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ
  • ชำระค่าธรรมเนียม
  • รอรับใบคู่มือจดทะเบียนรถ
การเปลี่ยนชื่อ - สกุล ผู้ถือกรรมสิทธิ์
เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของรถ
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล
  • หนังสือแจ้งเปลี่ยนชื่อ - สกุล หรือใบสำคัญการสมรส

ขั้นตอนการดำเนินการ
  • ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ
  • ชำระค่าธรรมเนียม
  • รอรับใบคู่มือจดทะเบียนรถ
การเปลี่ยนที่อยู่ของผู้ถือกรรรมสิทธิ์
เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของรถ
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอเปลี่ยนสาระสำคัญ
  • ชำระค่าธรรมเนียม
  • รอรับใบคู่มือจดทะเบียนรถ
การแจ้งไม่ใช้รถชั่วคราว ตามมาตรา 89
          ยื่นคำขอภายใน 30 วันนับแต่วันถึงกำหนดเสียภาษีครั้งถัดไป หากพ้นกำหนดดังกล่าวจะต้องเสียภาษีครั้งถัดไปอีก 1 ปี
เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของรถ
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล
  • แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่มาดำเนินการเอง) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
  • คืนแผ่นป้ายทะเบียน
  • ชำระค่าธรรมเนียม และค่าแผ่นป้ายกรณีแผ่นป้ายสูญหาย
  • ชำระภาษีค้างชำระพร้อมเงินเพิ่ม (ถ้ามี)
  • รอรับเอกสารคืน
การแจ้งไม่ใช้รถตลอดไป ตามมาตรา 79
เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
  • สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ
  • ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของรถ
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
  • ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล
  • แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ (ต้องนำมาคืนต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เลิกใช้รถ
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่มาดำเนินการเอง) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
  • คืนแผ่นป้ายทะเบียนรถ หนังสือแจ้งความกรณี แผ่นป้ายสูญหาย
  • ชำระค่าธรรมเนียมการแจ้งไม่ใช้รถ
  • ชำระภาษีค้างพร้อมเงินเพิ่ม (ถ้ามี)
  • รอรับเอกสารคืน
หมายเหตุ หากรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์คันใดเกิดสูญหาย หรือรถประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถใช้งานได้ แนะนำให้เจ้าของรถยื่นคำขอแจ้งไม่ใช้รถตลอดไป
การแจ้งใช้รถหลังจากที่แจ้งไม่ใช้ชั่วคราว
เอกสารประกอบ
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของรถ
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล
  • พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่มาดำเนินการเอง) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
  • นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ
  • ชำระค่าธรรมเนียม
  • ชำระภาษีและเงินเพิ่มร้อยละ 20 กรณีภาษีสิ้นสุดก่อนการแจ้งใช้รถ
  • รอรับเอกสารคืน
การแจ้งยกเลิกการจดทะเบียนรถ ในกรณีที่มีการเลิกสัญญาเช่าซื้
(1) ให้ผู้ให้เช่าซื้อ แจ้งเป็นหนังสือยืนยันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อ และแจ้งด้วยว่าได้ยึด รถคืนมาจากผู้เช่าซื้อแล้ว โดยอาศัยสิทธิตามกฎหมาย หรือข้อสัญญาอย่างไร ซึ่งในหนังสือ นั้น ให้ระบุไว้ด้วยว่า หากมีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับสิทธิในรถคันที่ยึดมา เจ้าของรถยินยอม รับผิดชอบทุกประการพร้อมทั้งให้แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อ และหลักฐานการบอกเลิกสัญญา ที่ได้ทำเป็นหลักฐานไว้ก็ให้แนบมาด้วย
(2)
 นำแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถคืนต่อนายทะเบียน ถือเป็นรถปลอดทะเบียน
(3)
 เมื่อยกเลิกการจดทะเบียนแล้ว หากเจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรายใหม่จะนำรถคันดังกล่าวไปจดทะเบียน ให้นำหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถไปดำเนินการเสมือนกับการจดทะเบียนรถใหม่ทุกประการ
การขอจดทะเบียนรถที่แจ้งเลิกใช้มาตรา 79 และรถเลิกสัญญาเช่าซื้อ ให้ ดำเนินการเสมือนการจดทะเบียน และเสียภาษีรถใหม่ (เป็นรถปลอด ทะเบียน)
การขอแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแทนที่สูญ หาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
(1) ยื่นคำขอตามแบบคำขออื่น ๆ หากจะให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนต้องยื่นใบมอบอำนาจตาม กฎหมาย
(2)
 ต้องแนบหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถและหลักฐานที่แจ้งความว่าสูญหาย หรือหลักฐาน การถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ
(3)
 ต้องเสียค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
(4)
 ต้องยื่นคำขอรับใบแทนภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนดังกล่าว
การขอใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
ในการดำเนินการขอใบแทนคู่มือจดทะเบียนรถ เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี หรือแผ่นป้ายทะเบียน สามารถดำเนินการได้ในกรณีที่สูญหาย ถูกทำลาย ชำรุด หรือลบเลือนในสาระสำคัญ

(1)
 ยื่นคำขอตามแบบคำขออื่น ๆ โดยผู้ประกอบการขนส่งต้องดำเนินการด้วยตนเอง หากจะให้ ผู้อื่นไปทำการแทน ต้องทำใบมอบอำนาจตามกฎหมาย
(2)
 ถ้าสูญหาย จะต้องมีหลักฐานการแจ้งความ โดยผู้แจ้งความต้องเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังต่อไปนี้
-  ผู้ประกอบการขนส่ง
-  เจ้าของรถ
-  ผู้ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น ผู้เช่าซื้อ ฯลฯ
-  ผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบุคคลตามข้อ
 1,2 หรือ 3
(3)
 ในกรณีที่ผู้ยื่นขอเป็นผู้รับมอบอำนาจ ต้องแนบบัตรประจำตัวผู้ยื่นด้วย
(4)
 ต้องเสียค่าธรรมเนียมคำขอรับใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
กรณีรถหาย
(1) ต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนท้องที่ที่รถหาย
(2)
 ยื่นคำขอตามแบบคำขออื่น ๆ เพื่อแจ้งหยุดใช้รถตามมาตรา 89 หรือเลิกใช้ตามมาตรา 79 พร้อมกับสำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่รับแจ้งความเรื่องรถหายไว้โดยผู้ ประกอบการขนส่งต้องดำเนินการด้วยตนเอง หากจะให้ผู้อื่นไปทำการแทนต้องทำใบมอบ อำนาจตามกฎหมาย
หมายเหตุ กรณีเป็นชาวต่างชาติ การดำเนินการทุกกรณี จะต้องแนบหลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้
1. สำเนาภาพถ่ายหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) พร้อมฉบับจริง
2. ใบรับรองถิ่นที่อยู่จากสถานทูต

ข้อควรจำ
เมื่อต้องการขอจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ โอนสิทธิการใช้รถ หรือเปลี่ยนแปลง รายการต่าง ๆ เกี่ยวกับทะเบียนรถ ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถไปด้วยทุกครั้ง กรณีขายรถให้กับ ผู้อื่นแล้ว โปรดแจ้งให้ผู้ซื้อ ไปโอนรถ
ต่อนายทะเบียน ภายใน
 15 วัน นับแต่วันซื้อขายอย่าทำการโอน ลอยโดยไม่ระบุชื่อผู้รับโอน อาจต้องรับผิดชอบภาษีที่ค้างชำระหรือค่าเสียหายที่ผู้รับโอนก่อขึ้นภายหลังได้ ผู้ประกอบการขนส่งและเจ้าของรถต้องลงนามในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถด้วยตนเอง เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบลายมือชื่อเมื่อมีการโอนรถภายหลัง
ที่มา
http://mocyc.com
http://nakhonsawan.dlt.go.th/                     

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ประกันภัยรถยนต์

ประเภทของการประกันภัยรถยนต์แบ่งเป็น
  ประกันภาคบังคับ(พรบ.)
  ประกันภาคสมัครใจ(ประเภท1,2,3,4,5)

ซึ่งลักษณะรูปแบบของการประกันภัยแต่ละประเภท จะไม่มีแตกต่างกันมากนัก โดยการเลือกจะพิจารณา ที่ความคุ้มครอง,การให้บริการและความเอาใจใส่ลูกค้าของบ.ประกันและตัวแทน
โดยต้องพิจารณา ตามความเหมาะสมของผู้ซื้อประกัน ได้แก่
-
ความต้องการในการซ่อมรถของประกันภัย แต่ละประเภท
- การคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุการชนระหว่างรถผู้เอาประกันกับยานพาหนะทางบกประเภทใดหรือทรัพย์สินอื่น
- ค่าความเสียหายที่ต้องรับผิดชอบสำหรับเจ้าของรถที่ต้องจ่าย
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีมีผู้บาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิต มูลค่าของกรมธรรม์เท่าไหร่ที่จะเหมาะสมกับรถของเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบที่ท่านสามารถสอบถามได้ จากหน่วยงานของเราซึ่งดำเนินการทางด้านการประกันภัยรถยนต์และการประกันภัย ประเภทอื่นๆ ที่มีประสบการณ์เป็นเวลานาน
อัตราเบี้ยประกันภัยภาคบังคับ

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

จุดเด่นของของธุรกิจและสินค้า

จุดเด่นของของธุรกิจและสินค้า

1. กฎหมายบังคับซื้อ
2. ไม่ต้องอธิบายหรือสาธิตสินค้า
3. ใช้สินค้าอื่นทดแทนไม่ได้
4. สินค้าจำเป็นต้องซื้อแต่ไม่อยากใช้บริการ
5. ไม่จมเงินกับค่าสินค้า ลงทุนต่ำ
6. ไม่มีอัตราเสี่ยง
7. มีรายได้ทันทีที่เริ่มงาน
8. เป็นเสมือนธุรกิจแฟรนไชส์ขยายงานได้ทั่วประเทศ
9. ไม่มียอดขายมาบังคับ ไม่ต้องรักษายอดรายเดือน
10. มีรายได้จากยอดซื้อของกลุ่ม
11. ทุกคนทำงานเป็นทีม
12. จ่ายผลตอบแทนไม่จำกัดแนวกว้าง-ลึก



ความมหัศจรรย์ของการขยายทีมงาน

         สมมติว่าทุกเดือนท่านขายประกันภัยประเภท 1 เดือนละ 1 คัน เบี้ยประกัน 20,000.00 บาท และสร้างตัวแทนติดตัว 1 คน และสอนให้ทีมงานทำเช่นเดียวกับท่าน ผลตอบแทนที่คุณจะได้รับอาจจะมากอย่างที่ท่านไม่เคยคาดคิดมาก่อน
 http://www.ibscbroker.co.th/plan.php 
สมัครสมาชิก

ไอบีเอสซีNetwork

แนะนำ ไอบีเอสซี Network
ในปัจจุบันได้มีบริษัทประกันภัยในประเทศไทยที่ได้นำเอาระบบ NETWORK เข้ามาในแผนการตลาดอยู่ 2 บริษัทด้วยกัน ซึ่งผลการตอบรับจากแผนการตลาดนี้ปรากฏว่าได้ประสบผลสำเร็จอย่างสูง โดยบริษัทหนึ่งสามารถสร้างรายได้จากการขาย ภายระยะเวลาเพียงใน 3-4 ปี จาก 300 ล้านมาเป็น 1,500 ล้านในระยะเวลาอันสั้น ส่วนอีกหนึ่งบริษัทสามารถสร้างรายได้จากไม่ถึง 100 ล้านมาเป็นเกือบ 1,000 ล้านภายในเวลา 2-3 ปี นั่นแสดงให้เราเห็นถึงพลังของระบบ NETWORK นั่นเองแต่ในระบบโบรคเกอร์ยั่งไม่มีผู้ใดริเริ่มในการทำระบบนี้ บริษัท ไอบีเอสซี โบรคเกอร์ จำกัด เป็นการทำงานกึ่งระบบ NETWORK คือต่างกันตรงระบบ NETWORK ทั่วไปจะคำนวนจ่ายผลประโยชน์จากการหักค่าคอมสมาชิก แล้วจ่ายขึ้นไปเป็นชั้นๆ ทำให้ค่าคอมที่สมาชิกได้รับจะน้อยกว่าที่ควรจะเป็น จนไม่สามารถแข่งขันกับตลาดได้ แต่ไอบีเอสซีจะให้ผลประโยชน์แก่สมาชิกในอัตราเต็ม เพื่อสมาชิกสามารถแข่งขันได้โดยผลประโยชน์จากการแนะนำเป็นการจ่ายพิเศษ นอกเหนือจากค่าคอมของสมาชิกซึ่งผู้แนะนำจะได้รับผลประโยชน์ส่วนนี้ จากผู้ที่ท่านแนะนำตลอดไป ไอบีเอสซีกับแฟรนไชส์ประกันภัย ไอบีเอสซีได้เปิดธุรกิจแฟรนไซส์ประกันภัยให้กับผู้ที่สนใจเปิดร้านค้ากับเรา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงให้ท่านเข้ารับการอบรมกับเราเพื่อสร้างให้ท่านเป็นร้านค้าคุณภาพในวง การประกันภัย และบริการลูกค้าด้วยความรู้จริง รวมทั้งท่านยังสามารถแนะนำท่านอื่นมาร่วมเปิดร้านค้ากับท่าน โดยท่านจะได้รับผลประโยชน์ตามโครงสร้างแผนขยายงานแบบ MLM อีกด้วย
http://www.ibscbroker.co.th/about_th.php